Tuesday, September 18, 2018

SEO มีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

SEO มีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง ?

กลับมาที่ความหมายของ SEO ตามภาษาชาวบ้านๆ SEO คือ การทำให้เว็บไซต์ของเราขึ้นอันดับต้นๆของผลการค้นหา Google (เนื่องจาก Yahoo และ  Bing ไม่เป็นที่นิยมซักเท่าไหร่ ขอเหมารวมว่า Search Engine ที่คนส่วนใหญ่ใช้คือ Google)

คำถามต่อไปคือ SEO มีกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง? 
ในโลก SEO แบบเก่า เราจะแบ่งลักษณะของกระบวนการการจะทำให้เว็บไซต์ขึ้นอันดับต้นๆ หรือ SEO ออกเป็น 2 ลักษณะคือ SEO ทำบนเว็บไซต์ เช่นจัดการเนื้อหาภายในเว็บไซต์ให้ตรงตาม keyword เป้าหมาย เป็นต้น กระบวนการนี้เรียกว่า On-Page ส่วนการทำสิ่งต่างๆนอกเว็บไซต์แต่ให้มีอิทธิพลต่อเว็บไซต์ของเรา เช่นทำ backlink กระบวนการนี้เรียกว่า Off-Page SEO
เนื่องจากโลกออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว SEO ก็เช่นกัน เราจะติดอยู่ในโลกเก่าไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะหลังจากปี 2011 เป็นต้นมส Google Yahoo และ Bing มีการจับมือกันกำหนดนิยามข้อมูลใหม่ในรูปแบบ HTML เรียกว่า Schema สำหรับแทรกเขาไปใน HTML เพื่อให้ Google ดึงข้อมมูลจากเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น (วันหลังจะกลับมาพูดถึง Schema อีกครั้ง)  นอกจากนั้นแล้วมีการอับเดท Algorithms ของ Google อยู่ตลอดเวลา
อ้างอิงจาก Matt Cutt อดีตหัวหน้าทีมงานต่อต้าน สแปม ที่ Google กล่าวว่า Google มีการอับเดท Algorithm อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน รวมทั้งปีจะมีการอับเดท Google อยู่ระหว่าง 300-500 ครั้ง  เพื่อให้รับมือกับการเปลียนแแปลงนี้ จึงมี SEO อีกประเภทใหม่เกิดขึ้นมาในกลุ่มของเว็บมาสเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญในโลก Search Engine เรียกว่า Technical SEO
ดังนั้น SEO ในโลกใหม่จะประกอบไปด้วย SEO 3 ประเภท ดังนี้

1. ON-PAGE SEO

On Pag SEO คือกระบวนการปรับแต่ง แก้ไข หรือจัดการสิ่งต่างๆบนเว็บไซต์ของเราให้มีคุณสมบัติตามที่ Google ต้องการ เพื่อให้ดึงข้อมูลของเว็บของเราไปจัดเก็บไปเป็นผลการค้นหาให้มีประสิทธิภาพที่สุด เป็น SEO ที่เรามีอำนาจในการจัดมากที่สุดเพราะแทบจะทุกอย่างอยู่บนเว็บไซต์ของเราเอง

On-Page SEO มีส่วนประกอบดังนี้
  • เนื้อหา ต้องเป็นเนื้อหาที่ใหม่ ไม่ซ้ำใคร และให้คุณค่าแก่ผู้อ่าน
  • การจัดการคีย์เวิร์ด
  • โครงสร้างเว็บไซต์ว่ามีการจัดโครงสร้างให้ง่ายต่อการเข้าชมในแต่ละหน้าขนาดไหน
  • การให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้เข้าชม
  • ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์
  • โครงสร้าง HTML ว่าเป็นตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
  • ลิงค์ภายใน
  • Title Tag
  • Meta Tag
  • Site Map
  • ขนาดตัวอักษรที่ใช้กับเนื้อหาในส่วนต่าง เช่น H1 H2 H3 หรือตัวหนา ตัวบาง  ตัวอักษรมีลิงค์ เป็นต้น
  • ขนาด ปริมาณ และความเหมาะสมของรูป
  • จำนวนหน้า Error ต้องมีน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์
  • ลิงค์ออกนอกเว็บ ต้องไม่มีลิงค์ตาย หรือลิงค์เปิดไปไม่มีหน้านั้นอยู่แล้ว

2. OFF-PAGE SEO

Off-Page SEO คือการจัดการปัจจัยภายนอกเพื่อให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราดีขึ้น เช่นลิงค์ภายนอกที่เข้ามายังเว็บ หรือที่เรียกว่า Backlink นั่นเอง หลายๆคนเข้าใจว่า Off-Page SEO ก็คือการทำ Backlink เข้ามาเท่านั้น จริงๆแล้วถูกเพียงแค่ครึ่งเดียว นอกจาก Backlink แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย
สรุปคร่าวๆของ Off-Page SEO ดังนี้
  • Backlink หรือลิงค์จากเว็บอื่นๆที่ชี้เข้ามายังเว็บไซต์ของเรา backlink เป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการค้นหาของ Google แต่ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
    • ยิ่งมี backlink เข้ามาเยอะๆยิ่งดี แต่ต้องเป็น backlink ที่มีคุณภาพซึ่งก็คือเป็นลิงค์ที่มาจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ หากเป็นลิงค์ที่มาจากเว็บไซต์ที่เป็น spam ลิงค์ที่มาก็จะเป็น spam ด้วย จะทำให้มีผลต่อตำแหน่งผลการค้นหาเป็นอย่างมาก
    • การทำ Web Farm (คือการเปิดเว็บไซต์หลายๆเว็บไซต์ แล้วทำลิงค์มายังเว็บหลักเพื่อหวังให้เว็บไซต์มีน้ำหนักขึ้น) ใน พ.ศ. นี้แทบจะไม่มีผลอะไร ยิ่งทำเยอะอาจจะถูก Google มองว่าเป็น spam ลิงค์เข้าควรจะมาจากเน็ตเวิร์คอื่นๆ หลายๆที่
    • การซื้อ backlink ยิ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดมหันต์เพราะลิงค์ที่เข้ามามักจะเป็นลิงค์ที่มาจากเว็บไซต์ในกลุ่มเดิมๆที่ลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ซื้อ backlink นี้เช่นกัน
    • Backlink ของเว็บหนึ่งจะมีน้ำหนักเป็นอย่างมากหากเป็นลิงค์ที่มาจากเว็บไซต์ประเภทเดียวกัน เช่น backlink ของเว็บไซต์ท่องเทียว จะมีน้ำหนักมากเมื่อลิงค์มาจากเว็บไซต์ท่องเที่ยว หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หากเป็นลิงค์จากเว็บขายอุปกรณ์เจาะผนังก็จะมีน้ำหนักน้อย และถ้าหากมีเยอะๆก็จะถูกมองว่าเป็น spam ด้วยเช่นกัน
    • Backlink ที่มีคุณภาพต้องเป็นลิงค์ธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงเจ้าของเว็บอื่นเป็นคนทำลิงค์เข้ามาเอง โดยแทรกอยู่ในเนื้อหาทีมีลักษณะเดียวกับเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ของเราที่ลิงค์นั้นชี้มา Google จะมองว่า backlink ที่มีคุณภาพคือลิงค์ที่เว็บหนึ่งแนะนำให้คนอื่นได้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่ม หรือข้อมูลอ้างอิงจากอีกเว็บตามลิงค์ที่ให้ไป  ดังนั้นที่เราขอร้องให้เจ้าของเว็บไซต์อื่นทำลิงค์เข้ามาหรือที่เรียกว่าแลกลิงค์โดยไม่ได้มาจากหน้าที่มีเนื้อหาที่เหมือนกัน ก็สามารถทำได้ แต่ Google ก็จะมีน้ำหนักน้อยกว่ากรณีแรก

  • Social Media เป็นการกล่าวถึงเว็บไซต์ของเราในโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ อาจจะมองได้ว่าเป็น backlink ประเภทหนึ่ง ก็ว่าได้
  • Social Bookmarking คือเว็บไซต์ที่ให้บริการแก่ผู่ใช้งานท่องเว็บไซต์แล้วต้องการทำ Bookmark ไว้เพื่อแชร์ให้คนอื่นๆที่สนใจได้ติดตาม เช่นเว็บไซต์ดังต่อไปนี้ Delicious, Reddit, Pinterest, Stumbleupon และ Digg เป็นต้น จริงๆแล้วก็เป็น backlink ประเภทหนึ่ง แต่ Google จะมองในมุมมองที่แตกต่างว่าเป็นเนื้อหาที่มีการแชร์มีคนสนใจ และก็จะให้น้ำหนักและความสำคัญต่างกัน
  • ประสิทธิภาพของผู้ให้บริการเว็บไซต์ หรือ Hosting ต้องเป็นผู้ให้บริการที่มีเซิร์ฟเวอร์ที่เสถียร์ โหลดเร็ว ไม่ล่มบ่อย เพราะการที่เว็บล่มบ่อยๆจะมีผลต่อผลการค้นหาด้วย
  • ซอฟแวร์ที่ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ต้องอับเดทอยู่เสมอ ระบบป้องกันไวรัสและการโจมตีจากบรรดาพวกแฮกเกอร์ (จริงๆต้องเรียกว่า “แครกเกอร์” ถึงจะถูกต้องตามความหมาย) เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้บริการอยู่ไม่มีเว็บไซต์ หรือสคริปต์ที่เป็น spam ผังอยู่
  • IP ของเว็บไซต์ต้องไม่เป็น IP ที่อยู่ใน Back list ของเว็บไซต์ตรวจสอบความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต หากพบว่า IP เป็น IP ที่อยู่ใน Back list ก็ต้องทำการเปลี่ยนหรือย้ายโดยด่วน

3. TECHNICAL SEO

Technical SEO มีลักษณะคล้ายๆกับ On-Page SEO มีเลย ก่อนหน้าเว็บมาสเตอร์หรือผู้เชี่ยวชาญด้าน Search Engine มองว่าวิธีการต่างๆด้านเทคนิคที่ทำบนเว็บ (ที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการเนื้อหาหรือ content) เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ เป็น On-Page SEO ทั้งหมด แต่หลังจากปี 2011 เป็นต้นมาการจัดการและปรับปรุงทางเทคนิคเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น

ความหมายโดยสรุปแบบภาษาชาวบ้านของ Technical SEO คือวิธีการ หรือเทคนิคต่างๆที่ทำในเว็บไซต์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการนื้อหาในเว็บ เพื่อให้ Google มองโครงสร้างของเว็บไซต์ได้ง่าย และจัดเก็บข้อมูลเพื่อไปเป็นผลการค้นหา บางเทคนิคของ Technical SEO ก็จะมีเหลื่อมกับ On-Page อยู่บ้าง แต่ขอให้คิดแบบง่ายๆ ว่าอะไรก็ตามทีทำบนเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ไม่เกี่ยวกับคีเวิร์ด จะเป็นส่วนของ Technical SEO
ตัวอย่างของ Technical SEO คือ
  • การจัดการ ปรับปรุง แก้ไข เว็บไซต์ให้มีโครงสร้างตามกฏเกณฑ์ของ Schema ที่ระบุรายละเอียดใน www.schema.org
  • การจัดการ ปรับปรุง แก้ไข เว็บไซต์ให้มีลักษณะของ Structured Data (ข้อมูลโครงสร้าง) ตามที่ Google ต้องการ (ซึ่งก็คือหลักการเดียวกันกับที่ระบุใน schema.org แต่เน้นที่ Google)  วิธีการตรวจสอบว่าโครงสร้างของเว็บไซต์ของเราตรงตามที่ Google ต้องการ ก็ทำได้แสนง่าย แค่เข้าไปตรวจจากลิงค์นี้และใส่ URL ของเว็บเรา ผลออกมาจะต้องเป็น All good สามารถเข้าไปที่ https://developers.google.com/structured-data/testing-tool/
  • การมีลิงค์ที่อ่านง่ายชัดเจน
  • Robot.txt มีการตั้งค่าที่เหมาะสมให้ Google Bot เข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้
  • มีโค๊ด HTML หรือ CSS หรือ Javascript ที่เรียบง่าย ไม่รกรุงรัง
  • มีการจัดการ โค๊ดของเว็บไซต์ให้มีเป็นแบบ Rich Snippets ส่วน Rich Snippets คือโค๊ด schema ที่แทรกใน HTML เพื่อระบุให้ Google เข้าใจมากขึ้นว่าเนื้อหาส่วนนี้หมายถึงอะไร เช่น คำว่า Avatar ถ้าปรกฏอยู่โดดๆ Google จะไม่รู้ว่ามันหมายถึงหนังแอนนิเมชั่นของเจมส์ คาเมรอน หรือว่าเป็น รูปที่เราใช้แสดงแทนตัวเราในคอมเมนต์หรือตอนที่เราเขียนเนื้อหาบนเว็บต่างๆ การมี Rich Snippets ในหน้าเว็บจะช่วย Google แยกตรงนี้ได้ดีกว่า
บริการสำหรับลูกค้าต้องการทำโฆษณา ติดหน้าแรก google/Facebook/IG และเรายังสามารถ รับสอน seo ขั้นพื้นฐานได้ และอยาก รับทำ seo เราก็จะจัดให้



No comments:

Post a Comment