Sunday, September 9, 2018

ทำไมเราต้องสนใจกับ SEO ด้วยหละ


เป็นคำถามที่ผมถามตัวเองมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ Google เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรา แต่จะมีบทบาทต่อไปอีกนาน ทำไมเราต้องสนใจ SEO ด้วยล่ะ เป็นคำถามที่ตอบยากนะ เอาเป็นว่า
– ถ้าคุณไม่ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ คุณก็ไม่ต้องสนใจ SEO
– ถ้าคุณไม่มีเว็บไซต์เพื่อโปรโมทแบรนด์ช่องทางออนไลน์ คุณก็ไม่ต้องสนใจ SEO
– ถ้าคุณไม่มีเว็บไซต์สำหรับโปรโมทองค์กร คุณก็ไม่ต้องสนใจ SEO
– ถ้าคุณไม่ทำ Adsense คุณก็ไม่ต้องสนใจ SEO
– ถ้าคุณไม่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างรายได้ คุณก็ไม่ต้องสนใจ SEO
และคงมีอีกหลายๆปัจจัยที่ทำให้คุณไม่ต้องสนใจคำว่า SEO โดยเฉพาะถ้าคุณไม่สนใจเรื่องออนไลน์ อินเตอร์เน็ต ขายสินค้า โปรโมทสินค้า ประชาสัมพันธ์องค์กร หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ออนไลน์ คุณไม่ต้องสนใจ SEO อีกก็ได้ แต่ถ้าคุณมีสินค้าสำหรับขายผ่านช่องทางออนไลน์ คุณก็อยากให้ลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย ค้นหาสินค้าคุณเจอผ่าน Search engine อันดับต้นๆ ด้วยคีย์เวิร์ดที่คุณใช้ นั่นแหละคุณต้องทำ SEO แต่ถ้าคุณต้องการให้แบรนด์ของคุณมีคนรู้จักมากขึ้น ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการค้าหาผ่าน Search engine โดยใช้คีย์เวิร์ดที่มีส่วน/ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณ นั่นแหละคุณต้องทำ SEO หรือคุณจะโปรโมทองค์กรของคุณ ขยายช่องทางการขาย ทำการตลาดออนไลน์ แม้กระทั้งหาลูกค้าช่องทางออนไลน์ หรืออะไรก็ตามที่ส่งผลดีต่อธุรกิจคุณ คุณยิ่งจำเป็นที่ต้องทำ SEO ทั้งนั้น
เริ่มน่าสนใจแล้วใช่มั้ย ว่าทำไมเราต้องสนใจ SEO
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าคุณขายเสื้อผ้าออนไลน์ ราคาตัวละ 200 บาท ต้นทุกทั้งหมด 120 บาท ถ้าคุณขายได้ 1 ตัว คุณจะได้กำไร 80 บาท แต่ถ้าคุณพึ่งเริ่มทำในขณะที่ตลาดเสื้อผ้ามีเยอะมาก ถ้านับเฉพาะตลาดออนไลน์ก็มีคู่แข่งเยอะมาก แต่มีเพียง 10 เว็บแรกเท่านั้น ที่จะขึ้นหน้าแรกได้ หน้าต่อไปหน้าละ 10 เว็บๆ ไปเรื่อยๆ ถ้าผู้ขายเสื้อผ้าออนไลน์มี 1,000 ร้าน คุณเปิดเว็บใหม่ๆ โอกาสที่เว็บจะเข้ามาหน้าค้นหาอันดับต้นๆยากมาก อย่างดีก็รั้งท้าย อย่างเศร้าก็เข้ามาไม่ได้ (หมายถึงคุณไม่ได้เข้ามาอยู่ในฐานข้อมูล Search engine)
วิธีที่ทำที่จะโปรโมทให้กลุ่มเป้าหมาย/ลูกค้า รู้จักเว็บคุณมากขึ้น
วิธีแรก ลงโฆษณากับ Google ข้อดี ขึ้นเร็วมาก ทุกคนที่ค้นหามาด้วยคีย์ที่คุณใช้ จะเจอเว็บคุณทั้งหมด นับว่าขึ้นมาหน้าแรกทันทีถ้ามีทุนพอ ข้อเสีย โฆษณา google จะเป็น PPC (จ่ายเมื่อมีคนคลิกโฆษณา) อีกอย่างต้องเข้าใจด้วยนะว่า ต่อให้เห็นสินค้าคุณ แต่ไม่ปิดการขาย คุณก็ยังไม่ได้เงิน เข้าใจใช่ไหม
วิธีที่สอง ลงโฆษณาผ่านแบนเนอร์กับเว็บดังๆ ข้อดีของเว็บดังๆคือ มีคนเข้ามาในเว็บมากในทุกๆวัน เขาอาจเห็นแบนเนอร์ของเราบ่อยๆ เขาจะคลิกแบนเนอร์คุณเข้าไปในเว็บไซต์ของคุณ มันอยู่ที่ความน่าสนใจของแบนเนอร์ และความสนใจของคนที่ท่องเว็บด้วย ข้อเสีย โฆษณาแนวนี้เป็นราคาคงที่ ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน และส่วนมากความสนใจของนักท่องเว็บจะสนใจคอนเท้นในเว็บมากกว่า โฆษณาในเว็บแน่นอน เผื่อใจไว้ด้วย
วิธีที่สาม ลงโฆษณาผ่าน Social media ต่างๆ ข้อดีคือ มีทั้งฟรี และเสียเงิน ฟรีจะเป็นกลุ่ม Social แบบสำหรับขายของ แต่กลุ่มขายของจะไม่ค่อยน่าสนใจกับกลุ่มซื้อของสักเท่าไหร่ แบบเสียเงิน จะเป็นกลุ่ม Social สำหรับคอนเท้นเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น ค่าบริการก็จะขึ้นกับผู้ติดตาม ยิ่งมากยิ่งแพง ทำใจไว้ได้เลย
และอีกหลายวิธีที่ทำให้คุณเสียเงินได้อีกมาก แต่มาดูวิธีที่จ่ายเงินน้อย แต่คุ้มค่าระยะยาวกันดีกว่า วิธีนั้นก็คือ “การทำ SEO”
การทำ SEO เป็นการทำ Online marketing วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำให้เว็บของเรามีความน่าสนใจในมุมมองของ Search engine มากที่สุด และทำให้แสดงผลการค้นหาในคีย์เวิร์ดที่เราใช้ ขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆของการค้นหาบน Search engine ต่างๆ
จากตัวอย่างขั้นต้น ถ้าคุณไม่ทำ SEO เวลาค้นหา “ขายเสื้อผ้าออนไลน์” ใน Google คุณอาจต้องค้นไปเป็นร้อยหน้า กว่าจะเจอเว็บคุณ
แต่ถ้าคุณทำ SEO เวลาค้นหา “ขายเสื้อผ้าออนไลน์” ใน Google คุณจะเจอเว็บต้วเองในอันดับต้นๆ หรือถ้าโชคดีก็อาจจะอยู่ในหน้าแรก
ยกตัวอย่าง คีย์เวิร์ด “ขายเสื้อผ้าออนไลน์ราคาถูก” มีการค้นหาต่อวันที่ 200,000 ครั้ง ถ้าเว็บคุณอย่ในหน้าแรก และ 10% ของการค้นหาเข้าเว็บคุณ แสดงว่าใน 1 วันมีคนเข้าเว็บคุณ 20,000 คน ในจำนวนเข้าเว็บทั้งหมด สมมติว่ามีเพียง 2% ที่ปิดการขายสินค้าของคุณ และซื้อคนละ 1 ชิ้น จะได้กำไรทั้งหมด 400×80 = 32,000 บาท
นี่แค่ตัวอย่างของการทำ SEO จนกว่าเว็บจะขึ้นมาอยู่หน้าแรกในคีย์เวิร์ดที่คุณต้องการ อาจจะไม่ใช่วันแรกที่ทำได้แบบนั้น อาจจะเป็นเดือน หลายเดือน หรือเป็นปี แต่ถ้าระยะยาวคุณได้ตัวเลขเหมือนตัวอย่างที่ผมทำให้ดูแล้ว ผมว่ามันคุ้มค่าที่ได้ทำนะ นี่แหละ “ทำไมเราต้องสนใจ SEO”
บริการสำหรับลูกค้าต้องการทำโฆษณา ติดหน้าแรก google/Facebook/IG และเรายังสามารถ รับสอน seo ขั้นพื้นฐานได้ และอยาก รับทำ seo เราก็จะจัดให้

No comments:

Post a Comment