ให้น้ำหนักสื่อออนไลน์ และออฟไลน์เท่าๆ กัน
ต้องบาล๊านซ์ให้ชัดเจนระหว่างออนไลน์ และออฟไลน์ ไม่สามารถโฟกัสอันใดอันหนึ่งได้เต็มที่ ตอนนี้มองว่าไม่มีสื่อไหนที่ได้ผลแตกต่างกัน ผู้บริโภคเปิดรับทั้งสองสื่อควบคู่กัน จากแต่ก่อนที่มองว่าสื่อออนไลน์จับกลุ่มเป้าหมายได้ ราคาไม่แพง ยิงตรงกลุ่มเป้าหมาย แต่การแข่งขันในสื่ออนไลน์สูงขึ้น ราคาก็สูงขึ้น ต้องทำควบคู่กันไป
จะเห็นตัวอย่างหลายๆ อัน เช่น แกรมมี่ไปพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มอื่นๆ มากขึ้นอย่าง AIS, Netflix, LINE TV หรืออย่าง BNK48 ก็ไปทำร่วมกับ Workpoint มีแพลตฟอร์มทั้งคอนเทนต์ และสื่อ BNK48 มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ค่อนข้างมาก และเป็น Content Creator ที่มีปริมาณคอนเทนต์ค่อนข้างมาก เมมเบอร์แต่ละคนก็มีการทำคอนเทนต์เองในช่องทางออนไลน์เป็นหลัก แต่ก็มีพาร์ทเนอร์กับ PlanB ในการทำสื่อนอกบ้าน พยายามทำสื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ชัดเจนว่าแต่ละสื่อทำหน้าที่อะไร
การใช้สื่อเก่า แต่ปรับลงสื่อใหม่
แต่ก่อนมีสื่อวิทยุ ทีวี บิลบอร์ด ปริ้น สื่อทีวีในอดีตมีลงโฆษณาแค่ช่อง 3, 5,7, 9 และดิจัทลทีวี แต่ตอนนี้มีหลบไปลง YouTube, Facebook มากขึ้น คนดูทีวีน้อยลง เสพคอนเทนต์ผ่านช่องพวกนี้เยอะขึ้น หรอืถ้าคนที่อยากหลบโฆษณาก็ไป Netflix กลุ่ม Modern TV กลายเป็นช่องทางใหม่ที่พลาดไม่ได้ คนเปิดรับมากกว่าสื่อเดิมๆ และราคาไม่สูงมาก ใครมาก่อนก็โกยก่อน หรือกลุ่มสื่อเดิมอย่างฝั่งหนังสือพิมพ์ นิตยสารก็มีออนไลน์ หรือวิทยุคนก็ไม่ฟังสตรีมมิ่งกัน
Facebook ยังคงสำคัญหรือไม่?
ในปีที่ผ่านมามีดราม่าเยอะมาก เรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้ เรื่องอัลกอลิธึ่ม รู้สึกอยากเปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยน ไม่ค่อยแคร์ผู้ใช้ อยู่บน Facebook มากก็มีปัญหา ในแง่ของผู้ใช้ก็เบื่อว่าจะทำอะไรกับฉันอีก วันดีคืนดีข้อมูลก็โดนแฮค แล้วจะมั่นใจได้ไงว่าใช้แล้วแฮปปี้ ฝั่งธุรกิจเองก็เซ็งที่ Faccebook ลด Rech ต้องปรับตัวอย่างไร จะเห็นว่าคนเริ่มหนีจาก Facebook มากขึ้นเรื่อยๆ
Adblock มาแน่
คนใช้ Facebook , YouTube หรือโซเชียล มีเดียอื่นๆ จะเจอปัญหาคือเจอแต่โฆษณาเต็มไปหมดเลย จะหนีจากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร มีโซลูชั่น Adblock เริ่มมา แต่พอใช้ไปเรื่อยๆ ก็เริ่มให้จ่ายเงินเพื่อซื้อแพ็คเกจพรีเมี่ยม แทนที่จะเห็นโฆษณาใน YouTube ก็เป็นโฆษณาของ Adblock แทน
มองว่า Adblock มาแน่ๆ แล้วจะโยงไปถึงในอนาคตที่ว่าจากที่ต้องจ่ายเงินให้แพลตฟอร์มเพื่อโฆษณาของๆ เรา เพื่อไปถึงผู้บริโภค แต่ต่อไปก็จะโฆษณายิงตรงไปหาผู้บริโภคได้เลย อนาคตจะมีการใช้บล็อกเชนในการทำโฆษณา
ต้องสร้างแบรนด์ให้ Human Touch
ต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นมนุษย์ แล้วต้องทำตามสัญญา ต้อง Walk The Talk แบรนด์ที่โดดเด่นมากทุ่สดในปีที่ผ่านมาคือ Nike เอา Colin Kaepernick นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เป็นนักกีฬาที่เรียกร้องสิทธิ์ให้กับนักกีฬาคนผิวสี แคมเปญนี้ทำให้ลูกค้ามีส่วนหนึ่งไม่ชอบ ทำการบอยคอตเผาสินค้า Nike
แต่เขามองแล้วว่าคนกลุ่มนั้นเป็นคนผิวขาวอายุมากที่ไม่ชอบคนผิวสี แต่เขาต้องการได้ใจคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้แคร์เรื่องพวกนี้มาก สนใจเรื่องสิทธิความเท่าเทียมกันของมนุษย์ คนรุ่นใหม่เปิดรับกับเรื่องพวกนี้ สุดท้ายมันก็คุ้มที่จะได้ใจคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นลูกค้าในอนาคต มากกว่าเอาใจคนรุ่นเก่าที่นับวันมีแต่แก่ลง หุ้น Nike ตกลง และขึ้นมาใหม่ และสุดท้ายรายได้ก็ขึ้น 33% เป็นตัวอย่างของแบรนด์ที่พูดแล้วทำจริงๆ
Influencer ตัวใหญ่ๆ จะกลับมา
ปีที่แล้วพูดถึง Micro Influencer กันเยอะมาก ต้องใช้คนตัวเล็กๆ ที่มีอิทธิพลกับกลุ่มเพื่อน มีผู้ติดตาม 500-1,000 คน แต่พูดกับเพื่อนแล้วเชื่อ แต่ปีนี้ “แม่มา” Influencer ตัวใหญ่ๆ จะลงมาเอง
ปรากฎการณ์นี้เริ่มเห็นตอนความนิยมของ “สู่ขวัญ บุลกุล” ที่ทำกับแพรว เซเลบบล็อก และตอนนี้ Influencer ต่างก็มีทำช่องทางตัวเอง มีสังกัด เป็น Multi Channel Network ซึ่งแพรว เซเลบบล็อกเป็นช่องที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก มีดาราทั้งสู่ขวัญ, แอน ทองประสม, ต้าเหนิง, มาดามแป้ง, มาดามเดียร์, ชมพู่ อารยา, หน่อย บุษกร ใช้บารมีราคามาสร้างอิทธิพลกับคน ซึ่งได้อิมแพ็คระดับหนึ่ง
แต่จุดตัดที่ส่งผลต่อวงการนี้ได้คือ คนที่เคยเป็น Influencer และอาศัยความดังอย่างเดียว จะไม่สามารถอยู่ได้ Influencer ที่จะอยู่ได้ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นทิศทางที่เริ่มเปลี่ยน แบรนด์เริ่มใช้ควบคู่กันทั้งคนดัง และผู้เชี่ยวชาญ ยังมีการใช้ Micro Influencer อยู่ แต่ตัวใหญ่จะกลับมามีบทบาทมากขึ้น
VR/AR จะเริ่มเห็นชัดขึ้น
พูดรวมๆ ว่าเป็น Virtual Experience ซึ่ง VR เป็นเบื้องต้นของ Virtual Experience สามารถวาร์ปไปอยู่ทีอื่นได้ แต่ก่อนมีข้อจำกัดเรื่องความซับซ้อนของอุปกรณ์ การเข้าถึงอุปกรณ์ และมีราคาแพง แต่ตอนนี้เริ่มถูกมากขึ้นราคาไม่กี่ร้อยบาท ต้องใช้คู่กับมือถือ VR มีโอกาสเกิดง่ายขึ้น
ส่วน AR ตอนนี้ทุกค่ายมือถือทำกันหมดแล้ว แต่อตนนี้ AR ยังไม่เจอแอพพลิเคชั่นที่ทำให้ว้าวจริงๆ และยังไม่ได้สำคัญกับชีวิต แต่เมื่อไรห่ที่มีความสำคัญกับชีวิตจะมีการประจายได้เร็วกว่า VR เพราะไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริม ต่อไปอาจจะมีแว่นก็ได้
MR (Mix Reality) ส่องแล้วจะเห็นภาพจริง และภาพไม่จริง สามารถเล่นกับมันได้ด้วย แต่อุปกรณ์ต้องล้ำกว่า อาจจะใช้พวกอีเวนต์
ดาต้าจะเป็นกุญแจสำคัญของธุรกิจ
ปีหน้าจะเจอกับคำว่า Data Activation คือการเอาดาต้ามาปลดล็อกคุณค่าในนั้น และสร้างอิมแพ็ค ได้ยินบิ๊กดาต้ามาเยอะมาก แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมี เช่น วงการธนาคาร ค่ายมือถือ รีเทล หรือแรบบิทการ์ด ดาต้าจะเยอะมากๆ ถ้าเป็นธุรกิจอื่นๆ ต้องหาวิธีเอาดาต้ามาใช้ให้ได้
การลงทุนใน Own Asset
ไม่ว่าจะหนีจาก Facebook หรือพยายามเก็บดาต้า หนีจากสื่อออฟไลน์ ไปออนไลน์ สุดท้ายแล้วไปพึ่งพิง Asset ของคนอื่นอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้างของตัวเองขึ้นมา ง่ายที่สุดคือทำเว็บไซต์ ยากขึ้นมาหน่อยคือ ทำแอพพลิเคชั่น ต่อไปอาจจะเป็น App in App
ตอนนี้จะอยู่แค่บน Facebook อย่างเดียวไม่ได้ ถ้าวันหนึ่งมีปัญหาแล้วคนบอยคอตเลิกใช้ ต้องกระจายความเสี่ยง และต้องจริงจังกับมัน บาง Own Asset สามารถทำเงินได้ด้วย เช่น การทำอีคอมเมิร์ซ ตอนนี้ทุกแบรนด์อาศัยห้างออนไลน์ ช้อปปี้ และลาซาด้า อนาคตต้องมีร้านของตัวเองที่ปลดล็อกการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ
บริการสำหรับลูกค้าต้องการทำโฆษณา ติดหน้าแรก google/Facebook/IG และเรายังสามารถ รับสอน seo ขั้นพื้นฐานได้ และอยาก รับทำ seo เราก็จะจัดให้
No comments:
Post a Comment