เมื่อก่อนเวลาเราอยากซื้อสินค้าหรือบริการสักอย่าง แน่นอนว่าเราต้องออกจากบ้านเพื่อไปที่ร้านค้าหรือห้าง แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พฤติกรรมเหล่านี้เปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น ตลาดเปิดกว้างมากขึ้น แบรนด์เล็ก หรือธุรกิจใหม่ๆ มีโอกาสเติบโตและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ไม่เหมือนแต่ก่อนที่มีแต่แบรนด์ดังเท่านั้น ซึ่งนี่ถือเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับธุรกิจ SME ในแง่ของการทำการตลาดโดยไม่จำเป็นต้องใช้งบเยอะ วันนี้เราจึงขอนำเสนอ เทคนิคการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่คุณสามารถทำได้เอง (DIY Online Marketing) เพียงแค่คุณเข้าใจและนำไปใช้ให้เป็นเท่านั้น
คุณรู้จักลูกค้าของคุณดีพอหรือยัง?
ก่อนจะเริ่มต้นวางแผนการตลาด คุณจะต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของคุณคือใคร อายุเท่าไร มีความชอบอย่างไร มีขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างไร เป็นต้น การเก็บข้อมูลลูกค้าถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพื่อจะนำมาวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดต่อไป เช่น ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูล Demographic พฤติกรรมลูกค้า ประวัติการซื้อสินค้า/บริการ ข้อมูล Engagement ต่อบริษัท โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์การทำ Customer Persona หรือการค้นหา “ลูกค้าคนนั้น” ของคุณ ยิ่งเรารู้และเข้าใจเขาอย่างลึกซึ้ง ก็จะเป็นผลดีต่อการวางกลยุทธ์การตลาด
เมื่อเรารู้แล้วว่าลูกค้าของเรามีความชอบ ความต้องการ พฤติกรรมแบบใด ทีนี้เราก็ต้องมาวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้แผนการตลาดนั้นตรงกับกระบวนการความคิด หรือแนวทางในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า โดยการทำ Customer Journey จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้อาจจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของธุรกิจ มาดูกันว่าการเดินทาง 5 ขั้นตอนมีอะไรบ้าง
1. Awareness การรับรู้ เริ่มแรกต้องทำให้ลูกค้าค้นพบหรือรู้จักกับธุรกิจและสินค้าของเรา หากลูกค้าไม่รับรู้ เราก็จะไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้นเราจึงต้องวิเคราะห์ช่องทางนำเสนอที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ลงโฆษณา หรือ ใช้ Influencer เป็นต้น
2. Consideration การพิจารณา เมื่อลูกค้ารู้จักสินค้าและเกิดความสนใจ ก็จะเริ่มค้นหาข้อมูล เพื่อเป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการดูรีวิว ถามเพื่อนหรือคนรู้จัก
3. Purchase การตัดสินใจซื้อ เมื่อได้รับข้อมูลที่เพียงพอและพิจารณาแล้วว่าสินค้าที่เลือกนั้นคุ้มค่าที่สุด ก็จะเกิดการตัดสินใจซื้อ ซึ่งเราควรออกแบบให้การเข้าถึึงสินค้าและบริการเป็นไปโดยง่ายและสะดวกสำหรับลูกค้า
4. Retention การรักษาลูกค้า เมื่อได้ทดลองใช้สินค้าและบริการแล้วพบว่าดี ตอบโจทย์ ก็จะเกิดการซื้อซ้ำเรื่อยๆ ในส่วนนี้ CRM จึงกลายเป็นมาสิ่งสำคัญ เพื่อจะรักษาลูกค้าให้จงรักภักดีกับแบรนด์ต่อไป
5. Advocacy การสนับสนุน เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำและเกิดความประทับใจ จะเกิดเป็นแรงสนับสนุนต่อแบรนด์นั้นๆ ทำให้เกิดการแนะนำ บอกต่อ ทั้งกับคนใกล้ตัว และการเขียนรีวิวลงบนสื่อออนไลน์ โดยสิ่งนี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะหากลูกค้าเกิดไม่พอใจก็อาจเกิดเป็นผลเสียต่อธุรกิจได้เช่นกัน
เลือกเครื่องมือ/ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารออนไลน์มากมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กให้เลือกทั้งแบบฟรีและเสียเงิน โดยสิ่งที่ดีที่สุดไม่ใช่การเลือกใช้ทุกช่องทางที่มี แต่ควรจะเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสมกับธุรกิจมากกว่าจึงจะมีประสิทธิภาพ
1. Social Media อาทิเช่น Facebook, Instagram, Youtube, LINE@ และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างที่ทราบกันดีว่า 2 ช่องทางสื่อสารหลักเห็นจะไม่พ้น Facebook และ LINE@ข้อดีก็คือสามารถเผยแพร่ Content ได้หลากหลายรูปแบบทั้ง ข้อความ รูปภาพ วีดิโอ หรือการ Live สด แนะนำให้เลือกช่องทางหลักก่อนไม่เกิน 2 ช่องทาง จากนั้นค่อยๆ ขยายไปยังช่องทางอื่นๆ
2. Search Engine Marketing / Search Engine Optimization เครื่องมือที่ช่วยให้การหาข้อมูลแสดงผลหรือเนื้อหาที่ตรงตามที่เราต้องการ โดยทำให้เราติดอันดับต้นๆ ในการค้นหา โดย SEM จะเป็นการลงโฆษณาแบบเสียเงิน ซึ่งเห็นผลรวดเร็วแต่ก็ต้องแลกมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน แต่หากใครงบน้อยก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลย เพราะคุณก็สามารถปรับแต่งเว็บไซต์ติดอันดับได้ด้วยการทำ SEO ซึ่งวิธีนี้ยั่งยืนและฟรีแต่อาจจะต้องใช้เวลา
3. Blogging การเขียนบล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำ Content marketing ที่ช่วยโปรโมทธุรกิจของคุณได้ โดยคุณจะต้องวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาสร้างคอนเทนต์ให้ตรงกับธุรกิจของคุณ และโดนใจลูกค้า หากบทความที่เขียนนั้นสอดคล้องกับลูกค้าก็จะเกิดการแชร์ต่อ ทำให้การค้นหานั้นติดอันดับต้นๆ ปัจจุบันมีเครื่องมือให้ใช้ฟรีมากมายเช่น Canva, Giphy, Storify, Easely เป็นต้น
4. Email Marketing หรือที่เรียกกันว่า EDM เป็นระบบส่งข้อความโฆษณาผ่านอีเมลไปยังกลุ่มเป้าหมาย เป็นหนึ่งในช่องทางการตลาดที่ได้ผลลัพท์ดี โดยสามารถใช้เพื่อโปรโมทกิจกรรมการตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และเข้าถึงลูกค้าโดยตรง ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้เราสามารถส่งอีเมลไปยังรายชื่อลูกค้าจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย ในราคาย่อมเยาว์
5. Video Marketing ปัจจุบันวีดีโอถือเป็นอีกช่องทางสำคัญอันหนึ่งที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ด้วยการนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของแบรนด์ นำมาสรรค์สร้างให้เกิดความน่าสนใจ และทำให้เกิดการรับรู้มากขึ้น เช่นเดียวกับ Facebook Live ที่เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยสามารถเข้าถึงคนได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
การโปรโมทธุรกิจออนไลน์
การทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักและสนใจกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากจะสร้าง Content ให้ดีและดึงดูดใจแล้ว การโปรโมทธุรกิจผ่านการลงโฆษณาออนไลน์ก็เป็นสิ่งจำเป็น ข้อดีคือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณ และไม่จำเป็นต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่ข้อเสียคือการเข้าถึงผู้คนจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย หากไม่โดนใจ ผู้บริโภคก็มีสิทธิ์ที่จะไม่สนใจและข้ามโฆษณาเราไปก็ได้เช่นกัน
1. Facebook Ads เป็นบริการที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง มีรูปแบบการลงโฆษณาที่หลากหลาย เหมาะกับจุดประสงค์ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่นต้องการสร้างการรับรู้ สร้างรายชื่อผู้ที่สนใจสินค้า สร้างยอดขาย เป็นต้น โดยเราสามารถกำหนดช่วงอายุ เพศ ภาษา ความสนใจ พฤติกรรม และงบประมาณได้ด้วยตนเอง
2. Google Adwords คือการทำโฆษณาบนหน้าแรกของ Google โดยจะมีรูปแบบการคิดเงินเป็น PPC (pay-per-click) ที่จะเริ่มคิดเงินก็ต่อเมื่อมีผู้คลิกที่โฆษณาของเรา โดยลูกค้าจะสามารถเห็นข้อความโฆษณาของเรา เมื่อทำการเสิร์ชหาข้อมูลที่ตรงตาม Keyword ที่เรากำหนดไว้ โดยอันดับของโฆษณาของเราที่จะแสดงขึ้นอยู่กับการ Bidding ยิ่งมีคู่แข่งมากก็ยิ่งแพงมาก
3. Blogger / Influencer สำหรับสินค้าหลายๆ ประเภท การที่มีคนที่เป็นศูนย์รวมความคิดเห็น และเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มเป้าหมาย มาเป็นผู้บอกเล่าประสบการณ์หรือถ่ายทอด Message ของแบรนด์ออกไปยังลูกค้าถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ได้ผลดีไม่น้อย โดยส่วนมากพวก Blogger เหล่านี้จะมีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตาม Category อยู่ที่ว่าการนำเสนอจะน่าสนใจหรือไม่ โดยค่าใช้จ่ายก็สูงไม่น้อยเลยทีเดียว
การวัดผลการตลาดออนไลน์
ข้อได้เปรียบของการทำการตลาดออนไลน์คือสามารถวัดผลได้แบบ Real time สามารถรู้ได้ว่าโฆษณาแบบไหนเวิร์ค แบบไหนไม่ผ่านต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ทำให้เรารู้เสียงสะท้อนจะลูกค้าเพื่อนำมาปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดต่อไป โดยใช้เครื่องมือวัดผลเช่น Google Analytics, Facebook Analytics, Facebook Audience Insights เป็นต้น โดย KPI ที่ใช้วัดผลเป็นหลักมีดังนี้:
1. Engagement บนเว็บไซต์ สิ่งสำคัญสำหรับอีคอมเมิร์ซควรต้องรู้เกี่ยวกับจำนวนคนที่เข้าเว็บไซต์ ระยะเวลาที่อยู่บนเว็บไซต์ มีหน้าไหนบ้างผู้เข้าชมให้ความสนใจ มีอัตราการกลับมาเยี่ยมชมซ้ำเท่าไร เป็นต้น โดยเราสามารถใช้ข้อมูลตรงนี้นำไปปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
2. Traffic แหล่งที่มาของคนที่เข้าเว็บไซต์ของเราไม่ว่าจะโดยตรง (Direct) ผ่านมาจากเว็บไซต์อื่นๆ (Referral) ผ่านโฆษณา (Paid search) หรือจากแคมเปญที่เราทำก็ดี ตรงนี้ทำให้เรานำไปวิเคราะห์ได้ว่ากิจกรรมทางการตลาดอันไหนได้ผล และควรโฟกัสกับช่องทางไหนมากเป็นพิเศษ
3. Conversion จำนวนผู้ที่เปลี่ยนสถานะ เช่น สั่งซื้อสินค้า ลงทะเบียนรับส่วนลด โดยปกติแล้วเราจะต้องกำหนด Landing page ซึ่งก็คือหน้าหนึ่งของเว็บไซต์ที่เราส่งให้คนเข้ามา โดยมีความหวังว่าผู้ที่เข้ามาชมจะเกิดการเปลี่ยนสถานะ ยิ่งมีตัวเลขอัตราการเปลี่ยนสถานะเยอะเท่าไร ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อแคมเปญนั้นๆ ซึ่งการติดตามวัดผล Landing page อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เราทราบว่าควรปรับเปลี่ยนตรงไหน อย่างไร เพื่อให้ Conversion rate เพิ่มขึ้น
สำหรับ SME ที่สนใจขอสินเชื่อเพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาดออนไลน์ของกิจการ สามารถติดต่อเราเพื่อรับข้อเสนอพิเศษได้โดยลงทะเบียนที่ลิ้งค์ด้านล่างค่ะ
บริการสำหรับลูกค้าต้องการทำโฆษณา ติดหน้าแรก google/Facebook/IG และเรายังสามารถ รับสอน seo ขั้นพื้นฐานได้ และอยาก รับทำ seo เราก็จะจัดให้
No comments:
Post a Comment